วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3ส่วนหลัก คือ
          1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียมหลัก 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรป
            >  ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging  GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม.หรือ  12,600  ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก  12  ชั่วโมง
            >  ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
            >  รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)
ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจาก นโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก ลบ 10เมตร  
          2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน  สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก      
          3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
          ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet
ศึกษาความเป็นมาและประวัติการพัฒนา GPS (GPS HISTORY, CHRONOLOGY, AND BUDGEที่นี่ครับTS) 

 
2.  GPS ทำงานอย่าง ไร?

ดาวเทียม GPS (Navstar) ประกอบด้วยดาวเทียม 24  ดวง โดยแบ่งเป็น  6  รอบวงโคจร การโคจรจะเอียงทำมุมเอียง 55 องศา
กับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ในลักษณะสานกันคล้าย ลูกตะกร้อแต่ละวงโคจรมีดาวเทียม  4  ดวง รัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม. หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง

GPS ทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของเวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบันเพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับสัญญาณดังกล่าวข้างต้น

เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม ต้องมีดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก ซึ่งระยะห่างจากดาวเทียมทั้ง 3 กับเครื่อง GPS (ที่จุดสีแดง) จะสามารถระบุตำแหน่งบนผิวโลกได้หากพื้นโลกอยู่ในแนวระนาบแต่ในความเป็นจริงพื้นโลกมีความโค้งเนื่องจากสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมดังนั้นดาวเทียมดวงที่ 4 จะทำให้สามารถคำนวณเรื่องความสูงเพื่อทำให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องมากขึ้น

นอกจากนี้ความแม่นยำของการระบุตำแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง กล่าวคือถ้าระยะห่างระหว่างดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ห่างกันย่อมให้ค่าที่แม่นยำกว่าที่อยู่ใกล้กัน  และยิ่งมีจำนวนดาวเทียมที่รับสัญญาณได้มากก็ยิ่งให้ความแม่นยำมากขึ้น ความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศชั้นบรรยากาศประกอบด้วยประจุไฟฟ้า ความชื้น อุณหภูมิ และความหนาแน่นที่แปรปรวนตลอดเวลา คลื่นเมื่อตกกระทบ กับวัตถุต่างๆ จะเกิดการหักเหทำให้สัญญาณที่ได้อ่อนลง และสิ่งแวดล้อมในบริเวณรับสัญญาณเช่นมีการบดบังจากกระจก ละอองน้ำ ใบไม้ จะมีผลต่อค่าความถูกต้องของความแม่นยำ เนื่องจากถ้าสัญญาณจากดาวเทียมมีการหักเหก็จะทำให้ค่าที่คำนวณได้จากเครื่องรับสัญญาณเพี้ยนไป และสุดท้ายก็คือประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณว่ามีความไวในการรับสัญญาณแค่ไหนและความเร็วในการประมวณผลด้วย

การวัดระยะห่างระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับทำได้โดยใช้สูตรคำนวณ ระยะทาง = ความเร็ว * ระยะเวลา วัดระยะเวลาที่คลื่นวิทยุส่งจากดาวเทียมมายังเครื่องรับ GPS คูณด้วยความเร็วของคลื่นวิทยุจะเท่ากับระยะทางที่เครื่องรับ อยู่ห่างจากดาวเทียม โดยเวลาที่วัดได้มาจากนาฬิกาของดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูงมีความละเอียดถึงนาโนวินาที และมีการสอบทวนเสมอๆกับสถานีภาคพื้นดิน

องค์ประกอบสุดท้ายก็คือตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวงในขณะที่ส่งสัญญาณมาว่าอยู่ที่ใด(Almanac) มายังเครื่องรับ GPS โดยวงโคจรของดาวเทียมได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วเมื่อถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ สถานีควบคุมจะคอยตรวจสอบการโคจรของดาวเทียมอยู่ตลอดเวลาเพื่อทวนสอบความถูกต้อง
 
 
 
3. ระบบนำทางด้วย GPS ทำงานอย่างไร?
ก่อนอื่นผู้ใช้จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือมีอุปกรณ์นำทาง เมื่อผู้ใช้นำเครื่องไปใช้งานมีการเปิดรับสัญญาณ GPS แล้วตัวโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ แผนที่สำหรับนำทางจะเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่างๆ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ที่ได้ทำการสำรวจและตั้งค่าไว้แล้ว ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมทำการเลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้เลือกไว้

เสียงนำทางก็จะทำงานสอดคล้องกับการเลือกเส้นทาง เช่นถ้าโปรแกรมเลือกเส้นทางที่จะต้องไปทางขวาก็จะกำหนดให้มีการแสดงเสียงเตือนให้เลี้ยวขวา โดยแต่ละโปรแกรมก็จะมีการกำหนดเตือนไว้ล่วงหน้าว่าจะเตือนก่อนจุดเลี้ยวเท่าใด ส่วนการแสดงทิศทางก็จะมีการบอกไว้ล่วงหน้าเช่นกันแล้วแต่ว่าจะกำหนดไว้ล่วงหน้ากี่จุด บางโปรแกรมก็กำหนดไว้จุดเดียว บางโปรแกรมกำหนดไว้สองจุด หรือบางโปรแกรมก็สามารถเลือกการแสดงได้ตามความต้องการของผู้ใช้

การคำนวณเส้นทางนี้จะถูกคำนวณให้เสร็จตั่งแต่แรก และตัวโปรแกรมจะแสดงผลทั้งภาพและเสียงตามตำแหน่งจริงที่อยู่ ณ.จุดนั้นๆ หากมีการเดินทางออกนอกเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ เครื่องจะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและจะคำนวณให้พยายามกลับสู่เส้นทางที่ได้วางแผนไว้ก่อน หากการออกนอกเส้นทางนั้นอยู่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะมีการคำนวณเส้นทางให้ใหม่เองอัตโนมัติ

เมื่อเครื่องคำนวณเส้นทางให้ผู้ใช้สามารถดูเส้นทางสรุปได้ล่วงหน้า หรือแสดงการจำลองเส้นทางก็ได้ โปรแกรมนำทางบางโปรแกรมมีความสามารถกำหนดจุดแวะได้หลายจุดทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดให้การนำทางสอดคล้องกับการเดินทางมากที่สุด หรืออาจใช้ในการหลอกเครื่องเพื่อให้นำทางไปยังเส้นทางที่ต้องการแทนที่เส้นทางที่เครื่องคำนวณได้ บางโปรแกรมก็มีทางเลือกให้หลีกเลี่ยงแบบต่างๆเช่น เลี่ยงทางผ่านเมือง เลี่ยงทางด่วน เลี่ยงทางกลับรถ เป็นต้น
 
4.  แผนที่นำทางด้วย GPS มีที่มาอย่างไร?
นอกจากผู้ที่ใช้ระบบ GPS จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณ GPS หน่วยประมวลผล โปรแกรมแผนที่และข้อมูลแผนที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ  การรับสัญญาณจากดาวเทียมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนการใช้งานในรูปแบบที่ใช้ประกอบกับแผนที่จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของแผนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทที่จัดทำแผนที่ ในประเทศไทยมีผู้จัดทำแผนที่เพื่อใช้กับ GPS รายใหญ่ๆได้แก่

ABLE ITS (POWER MAP)

นอกจากความเฉพาะของแผนที่นำทางจะไม่สามารถนำมาใช้ต่างค่ายได้แล้ว แผนที่ยังมีความเฉพาะสำหรับเครื่องแต่ละเครื่องด้วยคือไม่สามารถนำแผนที่จากเครื่องหนึ่งไปใช้กับเครื่องอื่นได้ จะต้องมีการป้อนรหัสที่ทางบริษัทจัดให้จึงจะสามารถใช้งานได้
การสร้างแผนที่นำทางจะเริ่มจากการใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียมมาต่อซ้อนกันเหมือนการปูกระเบื้องเพื่อให้เห็นภาพรวมของภูมิประเทศ แล้วจึงไปกำหนดจุดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (calibrate) เป็นค่าพิกัดดาวเทียม แล้วจึงมีการสร้างข้อมูลต่างๆ เช่น ถนน สถานที่สำคัญ จุดสนใจ เป็นชั้นๆ (layer) แล้วนำมาประกอบกันเป็นแผนที่นำทาง
การสร้างข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะต้องมีการสำรวจภาคสนามซึ่งต้องใช้บุคคลากร ทรัพยากรจำนวนมาก และต้องทำอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้การสร้างแผนที่มีต้นทุนที่สูง

  
5.   อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการนำทางด้วย GPS ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการนำทางด้วย GPS ประกอบด้วย ตัวรับสัญญาณ หน่วยประมวลผล โปรแกรมการนำทาง และข้อมูลแผนที่นำทาง ปัจจุบันนี้มีเครื่อง GPS ที่มีครบทุกอย่างในตัวเอง ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานและมีความเสถียรสูงได้แก่ PND (Personal / Portable Navigation Device) หรือแบบที่ใช้ GPS receiver ร่วมกับ PDA (Personal Digital Assistant) Pocket PC โน้ตบุ๊ก PC Smart phone เป็นต้น หรือใน smart phone รุ่นใหม่ก็มี GPSเพิ่มขึ้นให้เลือกใช้หลายรุ่น ทำให้สะดวกในการใช้งานยามหลงทางหรือใช้งานหาสถานที่ใกล้เคียง

นอกจากอุปกรณ์หลักแล้วยังมีอุปกรณ์เสริม เช่นเสารับสัญญาณภายนอกแบบติดเฉพาะเครื่องต่อเครื่อง หรือตัวกระจายคลื่น (GPS radiator) เพื่อให้สามารถใช้GPSได้ในที่อับสัญญาณ เช่นในรถที่ติดฟิล์มที่มีสารโลหะอยู่ (หรือที่เรียกกันว่า"ฉาบปรอท") หรือในอาคาร

 
6.   การประยุกต์ใช้งาน
ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบต่างๆดังนี้

>  การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การทำแผนที่ งานสำรวจ โดยส่านใหญ่นิยมใช้อุปกรณ์ที่สามารถพกพาไปได้ง่าย มีความทนทาน กันน้ำได้ สามารถใช้กับถ่านไฟฉายขนาดมาตรฐานได้ ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
 การนำทาง ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมีหลากหลายแบบและขนาด สามารถนำทางได้ทั้งภาพและเสียง ใช้ได้หลายภาษา บางแบบมีภาพเสมือนจริง ภาพสามมิติ และประสิทธิภาพอื่นๆเพิ่มเติมเช่น multimedia Bluetooth hand free เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
 การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายหมุดดาวเทียม GPS ของกรมที่ดิน (DOLVRS)
>  การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่น เสื้อกั๊กชูชีพที่มีเครื่องส่งสัญญาณจีพีเอส
>  การนำไปใช้ประโยชน์ในขบวนการ ยุติธรรม เช่นการติดตามบุคคล
>  การติดตามการค้ายาเสพติด ฯลฯ ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
>  การนำไปใช้ประโยชน์ทางทหาร ดูรายละเอียดเกี่ยวกับอนาคตGPS ทางทหารจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่นี่ The Future of the Global Positioning System
>  การกีฬา เช่นใช้ในการฝึกฝนเพื่อวัดความเร็ว ระยะทาง แคลลอรี่ที่เผาผลาญ ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่ หรือ ใช้ในสนามกอล์ฟเอคำนวณระยะจากจุดที่อยู่ถึงหลุม
>  การสันทนาการ เช่น กำหนดจุดตกปลา หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตกปลา การวัดความเร็ว ระยะทาง บันทึกเส้นทาง เครื่องบิน/รถบังคับวิทยุระบบการควบคุมหรือติดตามยานพาหนะ
>  การติดตามบุคคล เพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะอยู่ที่ใด มีการเคลื่อนที่หรือไม่ มีการแจ้งเตือนให้กับผู้ติดตามเมื่อมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าที่กำหนดหรือเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่หรือเข้าสู่พื้นที่ที่กำหนด นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินคืน ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
>  การนำข้อมูล GPS มาประกอบกับภาพถ่ายเพื่อการท่องเที่ยว การทำรายงานกิจกรรม เป็นต้น โดยจะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมติดตั้งอยู่กับกล้องบางรุ่น หรือการใช้ GPS Data Logger ร่วมกับ Software ดูรายละเอียดที่นี่

 
7.  การใช้ระบบ GPS ในต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้าง?
ทุกวันนี้ในต่างประเทศมีการใช้อุปกรณ์ GPS กันอย่างกว้างขวาง และประชาชนมีความรู้เรื่อง GPS เป็นอย่างดี เพราะได้มีการใช้งานมาหลายปีแล้วและมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรในรูปแบบของดิจิตอล ประกอบกับมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบทำให้การพัฒนาระบบ GPS เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในรถแท็กซี่จะพบอุปกรณ์ GPS ประจำอยู่แทบทุกคัน เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง หรือการขับรถเพื่อท่องเที่ยวก็จะมีการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวพร้อมสถานที่น่าสนใจต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ที่พัก จุดชมวิว แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น และนักเดินทางก็มักจะพกอุปกรณ์ GPS ในรูปแบบ PDA หรือ Pocket PC กันเป็นส่วนมาก แทนการพกพาสมุดแผนที่อย่างในอดีต ปัจจุบันนี้ระบบ GPS สามารถค้นหาถึงระดับบ้านเลขที่หรือเบอร์โทรศัพท์และนำทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

 
8.  แนวโน้มหรืออนาคตของ GPS ในประเทศไทย
สำหรับ GPS ยังเป็นของใหม่มากและรู้จักกันในหมู่ผู้ใช้งานในวงจำกัด แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีในการที่จะแพร่หลายต่อไปในอนาคตปัจจุบันนี้ได้มีรถแท็กซี่บางค่ายได้นำ GPS ไปติดตั้งแล้ว
ในปัจจุบันนอกจากฟังก์ชั่นการนำทางพื้นฐานแล้วก็ยังมีการเตือนทางโค้ง จุดด่านเก็บเงิน จุดที่มักจะมีการตรวจจับความเร็ว ตำแหน่งกล้องตรวจจับการฝ่าฝืนกฎจราจร การกำหนดความเร็วในถนนแต่ละสาย ข้อมูลการท่องเที่ยวพร้อมรายละเอียดพร้อมภาพประกอบ ข้อมูลร้านอาหารอร่อย ภาพเสมือนจริง ข้อมูลจราจร TMC หรือ (Traffic Message Channel) ดูรายละเอียดเพิ่มทีนี่
          การใช้ GPS ในการติดตามรถบรรทุก รถยนต์ ซึ่งต่อไปน่าจะแพร่หลายไปถึงรถแท็กซี่ รถพยาบาล รถตำรวจ รถโรงเรียน รถขนส่งสาธารณะ ฯลฯ การแสดงสภาพการจราจรที่คาดว่าในอนาค

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


10 แนวคิดเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในอนาคต (Concept Phone)

1..Oho-idea สำหรับแนวคิดแปลกใหม่น่าสนใจของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในอนาคตหรือ Concept Phone ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัย ฟังก์ชั่นการทำงานหลากหลาย ไม่ยึดติดกับรูปร่างลักษณะแบบเดิมๆ ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ตอบสนองผู้ใช้งานและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีใน อนาคต
Weather Cell Phone Concept : แนวคิดเพื่อบอกสภาพดินฟ้าอากาศ
แนวคิดมือถือ โทรศัพท์มือถือบอกสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather Cell Phone Concept) มีแนวคิดและจุดเด่นตรงตัวเครื่องทำจากวัสดุ โปร่งใส ขนาดบางเฉียบ หน้าจอสามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่ตัวเครื่อง ใช้ระบบสัมผัสในการควบคุมการทำงาน สามารถตรวจวัดสภาพอากาศในปัจจุบันแล้วแสดงผลบนตัวเครื่องได้ อย่างเช่น อากาศปลอดโปร่ง หน้าจอจะใสแจ๋ว หากฝนตกตัวเครื่องก็จะมีหยดน้ำฝนเกาะอยู่ และถ้ามีหิมะตกหน้าจอก็จะเป็นฝ้าด้วยไอความเย็นของหิมะ และหากต้องการโทรออกหรือเขียนข้อความ เพียงแค่ใช้ปากเป่าลมไปยังหน้าจอ ก็สามารถเขียนตัวอักษรหรือวาดรูปต่างๆ ลงไปได้เลย
ผลงานการออกแบบของ Seunghan Song





2..Mobile script Concept : แนวคิดหน้าจอระบบ สัมผัสที่สามารถดึงเข้า-ออก
โดย แนวคิดโทรศัพท์มือถือร่วมสมัย เพื่อต้องการความคล่องตัวในการใช้งาน ด้วยหน้าจอระบบสัมผัสขนาดใหญ่ 9.5 นิ้วที่สามารถดึง เข้า-ออกจากตัวเครื่องด้านข้างได้ หรือที่เรียกว่า "Script Concept" ซึ่งเหมือนวิธีการ ส่งสาร จดหมายสมัยโบราณ ที่ส่งเป็นลักษณะม้วนกระดาษ นับว่าเป็นแนวคิดที่ดี ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสมัยใหม่ได้ดีทีเดียว
ผลงานการออกแบบของ Aleksander Mukomelov
  


   
3..Projector Cell Phone Concept: แนวคิดมือถือติดโปรเจคเตอร์
แนวคิดมือถือโทรศัพท์มือถือที่ต้องการเป็นมากกว่ามือถือธรรมดา เป็นแนวคิดสมาร์ทโฟนขนาดบางเฉียบ ติดโปรเจคเตอร์หรือเครื่องฉายภาพ (Projector Concept) ไว้ ตรงกลางของตัวเครื่องรอยต่อระหว่างจอแสดงผลที่สามารถหมุนขึ้นได้กับแผงปุ่ม กด ผู้ใช้สามารถส่งภาพในโทรศัพท์ออกไปยังฉากหรือผนังเพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่ ได้
ผลงานการออกแบบของ Stefano Casanova
  


4..Alarm Clock Cell Phone Concept: แนวคิดมือถือกับนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ
แนวคิดโทรศัพท์มือถือนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ Sony Ericsson รูปทรงคล้ายนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ มองเห็นเวลาชัดเจนด้วยรูปแบบนาฬิกาดิจิตอลขนาดใหญ่ มีเครื่องเล่น Walkman, ติดกล้องถ่ายรูป และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด AAA 2 ก้อน
ผลงานการออกแบบของ Carl Hagerling
  






5..Pen Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือรูปทรงปากกา
แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงปากกา ความยาว 8.7 นิ้ว ปุ่มกดตัวเลข 1-9 เรียงจากหัวปากกาไป ด้านบน ถัดไปเป็นจอแสดงผล รองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอก MicroSD ภายในประกอบด้วย ฟังก์ชั่นพื้นฐานเหมือนโทรศัพท์ทั่วไป เพียงแต่ว่าง่ายต่อการพกพาสะดวกกว่าเท่านั้น
  



6..Edge Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงสไลด์หรู
แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงสไลด์ ที่มีแผงปุ่มกดทำจากวัสดุโปร่งใส ขนาดบาง ใช้ระบบสัมผัส เมื่อเราต้องการกดหมายเลขก็เพียงเลื่อนสไลด์แผงปุ่มที่ใสๆ ออกมาเท่านั้นเอง
ผลงานการออกแบบของ Chris Owens
  
7..Grass Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือต้นหญ้า
แนวคิดโทรศัพท์มือถือต้นหญ้าหรือ Grass Cell Phone มาจากแนวคิดเนื่องด้วยธรรมชาติสร้างสรรค์ เทคโนโลยีให้ควบคู่กันไปได้อย่างลงตัว จึงไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมือถือต้นหญ้าเครื่องนี้ก็จะค่อยๆ ย่อยสลายตัวเองไปตามกาลเวลาภายในระยะเวลา 2 ปี เพราะว่าวัสดุที่ใช้ทำเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้นั่นเอง
ผลงานการออกแบบของ Je-Hyun Kim
  



8..Mechanical Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือพลังงานกล
แนวคิดโทรศัพท์มือถือพลังงานจากกลไกการหมุนตัว เครื่อง ด้วยการใช้นิ้วสวมลงไปในรูวงกลมแล้วหมุนโทรศัพท์ไปรอบๆ นิ้วมือ เพียงแค่นี้โทรศัพท์มือถือเครื่องนี้ก็มีพลังงานเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยหน้า จอแสดงผลระบบสัมผัสบอกสถานะการชาร์จ
ผลงานการออกแบบของ Mikhail Stawsky
 



9..Flexible Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือกำไลข้อมือ
แนวคิดโทรศัพท์มือถือกำไลข้อมือ หรือนาฬิกา โดยตัวเครื่องทำมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอ ยึดปลายทั้งสองเข้าหากัน ใช้เป็นกำไลข้อมือ พกพาไปไหนได้สะดวกมากขึ้น
ผลงานการอกแบบของ Shirley A. Roberts


10..Ear Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือหูฟังล่องหน
แนวคิดโทรศัพท์มือถือหูฟังล่องหนหรือที่เรียก ว่า "Ilshat Garipov" ออกแบบให้มีขนาดบาง เฉียบ มีลักษณะคล้ายคลิปหนีบ ดึงส่วนยื่นออกมาเกี่ยวกับช่องหู คล้ายหูฟัง วัสดุประกอบตัวเครื่องแต่ละชั้นใช้โพลิเมอร์สอดแทรกด้วยชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และเซ็นเซอร์จำนวนมากสามารถตรวจจับผิวหน้าสัมผัสกับตัวเครื่องเปลี่ยนสีพื้น ผิวโทรศัพท์ให้เหมือนกับบริเวณที่ส่วมใสอยู่ ดูผ่านๆ แล้วเหมือนกับโทรศัพท์ล่องหนได้
ผลงานการอกแบบของ Kambala





วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


New York Times มาเอง iPad Mini เปิดตัวแน่นอนภายในปีนี้

[20-กรกฏาคม-2555] ท่าทางข่าวลือเรื่อง iPad Mini (ไอแพด มินิ) จะเป็นความจริงเสียแล้วครับ เมื่อสำนักข่าวยักษ์ใหญ่อย่าง The New York Times ที่ปกติแล้ว จะไม่นำเสนอข่าวลือ ข่าวหลุดซักเท่าไหร่ แตกต่างจาก Bloomberg กับWall Street Journal ที่มักจะมีข่าวลือเกี่ยวกับ iPad Mini (ไอแพด มินิ) มาโดยตลอด แต่มาในวันนี้ The New York Times กลับนำเสนอข่าวเองเลยว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) จะเปิดตัวภายในปีนี้อย่างแน่นอน ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า The New York Times จะต้องรู้อะไรลึกๆ เกี่ยวกับ iPad Mini (ไอแพด มินิ) เป็นแน่ มิเช่นนั้นคงไม่กล้านำเสนอข่าวและฟันธงได้แบบนี้
โดย The New York Times เผยว่า มีบุคคลวงในที่เกี่ยวกับโปรเจ็คดังกล่าว และปฏิเสธที่จะเผยชื่อ ได้บอกว่า Apple นั้น กำลังพัฒนาแท็บเล็ตรุ่นใหม่ ที่มีหน้าจอเพียง 7.85 นิ้ว ส่วนราคานั้น บอกแต่เพียงว่า ถูกกว่า The new iPad (iPad 3) ที่มีราคาเริ่มต้น $499 อย่างแน่นอน และคาดว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) จะเปิดตัวได้ในปีนี้

นอกจากนี้ บุคคลวงในคนดังกล่าว ยังได้เปิดเผยกับ The New York Times ด้วยว่า จริงๆ แล้ว iPad Mini (ไอแพด มินิ) รุ่นต้นแบบ ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2000 ครับ ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นขนาดหน้าจอ 7 นิ้วอยู่ แต่ว่า Steve Jobs กลับมีความเห็นที่ขัดแย้ง โดยบอกว่า หน้าจอขนาด 7 นิ้วเล็กเกินไปครับ และนี่ก็คือเหตุผลว่า ทำไม iPad ถึงไม่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้วเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ แต่ถ้าหน้าจอมีขนาดใหญ่กว่านี้เล็กน้อย ก็คงสมเจตนารมณ์ของ Steve Jobs เหมือนกัน

ส่วนกำหนดการเปิดตัว iPad Mini (ไอแพด มินิ) คาดกันว่า จะเปิดตัวในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งอาจจะเปิดตัวงานเดียวกับ ไอโฟน 5 (iPhone 5) ก็ได้ครับ โดยเว็บไซต์เทคโมบล็อคจะคอยรายงานความเคลื่อนไหวของ iPad Mini (ไอแพด มินิ) ให้ทราบเป็นระยะๆ ครับ - 9to5mac.com

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ: techmoblog.com

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกไม่เติบโตเท่าที่ควรเพราะหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือผู้บริโภคพร้อมใจรอระบบปฏิบัติการวินโดวส์เวอร์ชันใหม่ Windows 8 และยังลังเลใจว่าจะเลือกแท็บเล็ตหรือโน้ตบุ๊กบางเฉียบประเภทอัลตราบุ๊ก ทั้งหมดส่งให้ยอดจัดส่งพีซีโลกช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ลดลง 0.1% จากปีที่แล้ว เบื้องต้นคาดว่าสถานการณ์ทั้งหมดจะดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้      
       สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ประกาศว่าเหตุผลที่ทำให้ยอดจัดส่งคอมพิวเตอร์พีซีในไตรมาส 2 ของปี 2012 (เม.ย.-มิ.ย.) ไม่เติบโตนั้นเป็นเพราะยอดจำหน่ายในไตรมาสแรกของปีที่พลาดเป้า ทำให้ตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีต่างชะลอการสั่งสินค้าลงเพื่อรักษาสมดุลในคลังสินค้า
      
       

      
       ที่สำคัญ แนวโน้มการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของหลายค่ายไอที ยิ่งทำให้ตัวแทนจำหน่ายพีซีทั่วโลกลดจำนวนการซื้อสินค้ามาวางจำหน่าย
      
       นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่าผู้บริโภคยังรีรอที่จะซื้อพีซีในวันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีวิกฤตในบางภูมิภาคของโลก
      
       ยอดจัดส่งพีซีไตรมาส 2 ที่ลดลง 0.1% นั้นต่ำกว่าที่ไอดีซีคาดไว้ว่าตลาดจะเติบโต 2.2% โดยบริษัทวิจัยอีกรายอย่างการ์ทเนอร์ (Gartner) นั้นไม่ได้ระบุตัวเลขพยากรณ์เฉพาะไตรมาส 2 ที่แน่นอน แต่คาดว่าทั้งปีตลาดจะเติบโต 2%
      
       การสำรวจครั้งนี้พบว่าสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กน้ำหนักเบาบางอย่างอัลตราบุ๊ก (Ultrabook) นั้นยังไม่ถือเป็นช่วงแห่งการผลิตเต็มรูปแบบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังต้องรอการปรับปรุงคุณสมบัติให้รองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ที่คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายได้ในปีนี้ รวมถึงราคาที่ยังอยู่ในระดับสูง
      
       

      
       แม้ความต้องการในตลาดยุโรปและสหรัฐฯ จะมีจำนวนน้อยกว่าตลาดเกิดใหม่หรือ emerging market ในบางช่วง แต่ยอดจำหน่ายในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) กลับมีอัตราเติบโตเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยในสหรัฐฯ ตลาดพีซีนั้นหดตัวลงถึง 10.6% สูงกว่าที่คาดกันไว้ว่าจะลดลงราว 4.4%
      
       เอชพี (HP) ยังคงเป็นผู้ผลิตที่สามารถจัดส่งพีซีได้มากที่สุดในโลก แม้ว่าจะมียอดจัดส่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยอดสัดส่วนตลาดจากการ์ทเนอร์ระบุว่าเอชพีมีส่วนแบ่งตลาด 14.9% ขณะที่ไอดีซีระบุว่ามี 15.5% ท่ามกลางแรงกดดันจากการปรับโครงสร้างในเอชพีเองและการปรับกลยุทธ์การจัดการช่องทางจำหน่ายให้เหมาะสมกับตลาดพีซีที่เปลี่ยนแปลงไป
      
       อันดับ 2 ในตลาดพีซีกลับเป็นม้ามืดอย่างเลอโนโว (Lenovo) โดยเลอโนโวเป็นรายเดียวที่สามารถขยายตลาดได้ทั้งที่ยักษ์ใหญ่เอชพีและเดลล์มีส่วนแบ่งตลาดลดลงเรื่อยๆ โดยเลอโนโวครองส่วนแบ่งตลาดไป 14.7% (ข้อมูลจากการ์ทเนอร์) หรือประมาณ 14.9% จากการสำรวจของไอดีซี
      
       อันดับที่ 3 และ 4 นั้นเป็นเอเซอร์ และเดลล์ ที่ผ่านมาเอเซอร์เป็นแบรนด์แรกที่เปิดตัวอัลตราบุ๊ก และเป็นแบรนด์แรกที่ลดราคาอัลตราบุ๊กลงเช่นกัน จุดนี้การสำรวจพบว่าเดลล์พยายามให้ความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์กลุ่มราคามาตรฐานที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ทั้งหมดทำให้เดลล์สูญเสียส่วนแบ่งตลาดไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเดลล์อาจใช้กลยุทธ์ราคามาเป็นเครื่องมือในการแก้วิกฤตของบริษัทในอนาคต
      
       สำหรับแอปเปิล ผู้ผลิตไอโฟนและไอแพดยอดนิยมนั้นสามารถครองแชมป์อันดับ 5 ด้วยสัดส่วนตลาดรวม 12% แถมยังสามารถครองแชมป์อันดับ 3 ในตลาดสหรัฐฯ ด้วย
      
       ตลอดทั้ง 3 เดือนที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีโลกมีจำนวนราว 87 ล้านเครื่อง โดยไอดีซีมียอดสำรวจ 86.7 ล้านเครื่อง ขณะที่การ์ทเนอร์มียอด 87.4 ล้านเครื่อง